“คุณค่า” ของ NFT ที่มากกว่า “มูลค่า” ในมุมเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ทำไมนักลงทุนควรสนใจ เราเชื่อว่าทำให้ผู้อ่านพอเข้าใจใน NFT มากยิ่งขึ้น ส่วนท่านไหนยังไม่ได้อ่านก็สามารถไปหาอ่านกันที่บทความบนเว็บไซด์ของ Zipmex โดยเนื้อหาจากบทความที่แล้วจะถูกนำมาเชื่อมโยงกับเนื้อหาของบทความนี้ที่จะเจาะลึกเรื่องความเข้าใจของคุณค่า หรือ Value ของ NFT ผ่านประสบการณ์ของผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการ NFT
เรานำเนื้อหาจากการสัมภาษณ์ของสำนักข่าว Vox ในประเด็นเรื่อง Value ของ NFT กับทางคุณ Matt Stephenson ที่ทำงานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมและมีประสบการณ์โดยตรงจากการร่วมงานกับบริษัท Dapper Labs ซึ่งเป็นผู้ออกแบบสินค้า NFT ชื่อว่า NBA TopShot เป็นลักษณะ Officially-licensed video highlights เฉพาะของนักกีฬาบาสเกตบอลแต่ละคนที่มีข่าวการซื้อขาย NBA TopShot ของ LeBron James นักบาสเกตบอลเบอร์ต้น ๆ ของวงการในราคามากกว่า 1 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ
ประเด็นที่ 1 เรื่องการนำทฤษฏีเศษฐศาสตร์มาประยุกต์ให้เข้าใจคุณค่าของ NFT
ในเชิงเศรษฐศาสตร์ มีการแบ่ง Concepts ของ Value ออกเป็น 2 แบบได้แก่
1. Functional Value หรือคุณค่าในเชิงการนำไปใช้ประโยชน์
การเอาสิ่งของหรือวัตถุนั้นไปทำอะไรได้บ้าง
การที่ใช้งานเป็นของสะสมหรือเป็นของโชว์ในงานนิทรรศการของสะสมที่หายาก
สร้างประโยชน์แก่ตัวผู้ใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
การซื้อเก็บเพื่อสร้างรายได้ในกรณีนำไปขายต่อให้แก่กลุ่มคนที่สนใจ
เป็นการแสดงสถานะและรสนิยมทางสังคมเนื่องจากผู้คนนั้นยังมีความเชื่อว่าบุคคลที่เป็นนักสะสมนั้นต้องมีฐานะที่มั่นคงก่อนจึงสามารถซื้อสิ่งของมาสะสมได้
2. Hedonic value หรือคุณค่าในเชิงสุนทรียภาพ
คือคุณค่าในเชิงของความเพลิดเพลินทางอารมณ์ , ความรู้สึก , ประสบการณ์ในอดีตและช่วงชีวิตของแต่ละบุคคลที่ถูกเชื่อมโยงกันระหว่างวัตถุกับตัวบุคคล
คุณค่าในทางความรู้สึก
จากการได้รับสิ่งของหรือวัตถุในรูปแบบของขวัญ (Gifted), รางวัล (Reward) แม้ว่าจะเป็นเพียงของธรรมดาทั่วไปแต่ตัวบุคคลได้มีการใส่ความรู้สึกลงไปในนั้นจนก่อเกิดคุณค่าทางความรู้สึก
คุณค่าในเรื่องราว
ส่วนใหญ่ศิลปินผู้สร้าง NFT จะเป็นที่นิยมใช้คุณค่าในรูปแบบนี้มานำเสนอให้แก่ผู้ซื้อเกิดความสนใจ เช่น ภาพวาดโมนาลิซ่า ซึ่งวาดโดยศิลปินเอกของโลกมีเรื่องราวเบื้องหลังที่น่าสนใจในรายละเอียดประวัติของผู้ที่เคยครอบครองภาพ เช่น ครั้งหนึ่งเคยถูกตั้งอยู่ในห้องนอนของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์โลก
คุณค่าเชิงประวัติ (Biographical)
คือลักษณะเป็นสิ่งของ หรือ วัตถุที่เราจะรู้สึกเชื่อมโยงทางเรื่องราวความสัมพันธ์ , ประสบการณ์ , เหตุการณ์ ในอดีตและช่วงชีวิตของแต่ละบุคคล โดยองค์ประกอบพื้นฐานของนักสะสม (Collector) เช่น กลุ่มคนชอบสะสมรถยนต์รุ่นคลาสสิคที่มองว่ารถยนต์แต่ละรุ่นนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างวัตถุในเรื่องการใช้งาน , รสนิยม , ความพิถีพิถันในรายละเอียดโครงสร้างของรถยนต์
ประเด็นที่ 2 เรื่องความผันผวนของราคา NFT ที่พุ่งสูงขึ้น
คุณ Matt Stephenson มองว่าจะเป็นปรากฏการณ์ของเรื่อง Demand/Supply โดยมองว่าเทคโนโลยีและศิลปินผู้สร้างผลงานมีอิทธิพลน้อยมากในการทำให้เกิดความผันผวนของราคา เนื่องจากสามารถกำหนดจำนวน Supply ได้อย่างเดียว แม้จะมีเพียงชิ้นเดียวในโลกแต่ถ้าไม่เกิด Demand ของผู้คนที่สนใจจริงก็ไม่สามารถทำการพลักดันราคาให้สูงได้ แต่กลับมองว่าตัวปัจจัยภายนอกนั้นเป็นสิ่งที่คอยผลักดันให้เกิดความสนใจในสังคมก่อนจนส่งผลให้ Demand ตามมาทีหลัง
อ้างอิงปรากฏการณ์ Superstar Economy คือผู้มีอิทธิพลเพียงไม่กี่รายที่ออกมากระตุ้นและผลักดันให้เกิดความสนใจ (Attention) , ความต้องการ (Demand) เช่น
เหตุการณ์ของคุณ Justin Son CEO ของ Tron ประมูลภาพวาด NFT ชื่อว่า Ocean Front ของศิลปิน Beeple ในราคาราว 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
การขายภาพวาด Everydays: the First 5000 Days ของ Beeple ในราคา 69 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เหตุการณ์คุณ Elon musk ออกเพลงเกี่ยวกับ NFT มาโพสต์ลง twitter จนเกิดกระแสใหญ่โต
เหตุการณ์คุณ Sine Estavi CEO บริษัท Bridge Oracle ประมูลซื้อ tweet NFT ในราคา 2.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ตัวอย่างเหตุการณ์เหล่านี้ที่เกิดขึ้นเป็นการกระตุ้นความสนใจเรื่อง NFT และเทคโนโลยีเบื้องหลังแก่สังคมและก่อให้เกิดความต้องการหรือ Demand ที่เป็นตัวผลักดันราคาให้พุ่งสูงขึ้น แต่กระนั้นเมื่อเกิดความผันผวนของราคาย่อมมีปัญหาตามมาคือ ภาวะฟองสบู่ใน NFT อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องจากยิ่งราคาสูงทำให้มุมมองทั้งผู้สร้างและผู้ซื้อเปลี่ยนไปเป็นการเก็งกำไรที่จะยิ่งเป็นตัวเร่งภาวะฟองสบู่ให้สูงขึ้นไปจนเกิดวิกฤตได้ในอนาคต
ประเด็นที่ 3 เรื่องการนำเทคโนโลยีของ NFT มาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ปัจจุบันบริษัทในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เริ่มตระหนักถึงการนำเทคโนโลยีของ NFT มาสร้างสินค้าในการสร้างมูลค่าให้แก่บริษัทเอง เช่น อุตสาหกรรมแฟชั่น บริษัท The Fabricant ที่ได้ร่วมงานกับทางแบรนด์เสื้อผ้า นำเสนอ Digital Fashion NFT ในรูปแบบ 3D Animation , อุตสาหกรรมเกมส์ บริษัท Enjin ได้ทำการสร้าง Community สำหรับรองรับการสร้าง NFT ในรูปแบบ Game Item นอกจากนี้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้มีการริเริ่มทดลองกันบ้างแล้ว แต่ยังมีปัญหาใหญ่ในเรื่องของ Functional Value ที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากกว่าการเก็บสะสม ซึ่งเป็นสิ่งน่าสนใจในการจับตาดูกันต่อไป
ประเด็นที่สุดท้าย เรื่องมุมมองของ NFT ในอนาคต
คุณ Matt Stephenson ได้มีการแสดงความเห็นว่าในอนาคตนั้นนอกจากการสิ่งของหรือวัตถุที่ถูกสร้างเป็น NFT เรายังสามารถนำไปใช้ในด้านข้อมูล , งานวิจัย , เอกสาร เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้สร้างที่ลงทุนลงแรงจนออกมาเป็นผลงานสู่สังคมในรูปของค่าลิขสิทธิ์หรือค่าตอบแทน เป็นการกระตุ้นให้ผู้สร้างทำผลงานออกมาอีกนั้นเอง แต่คุณ Matt ก็ยังอยากให้มีข้อมูลแบบ Free , Open-source ควบคู่กันไปเพราะเป็นการช่วยให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลสำคัญต่าง ๆ สำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอดและเป็นการโปรโมทผลงานของตนเองทางอ้อมซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้สร้างนั้นต้องพิจารณาตัดสินใจ
จึงสรุปได้ว่า ของทุกอย่างบนโลกใบนี้มี “คุณค่า” กับบางคนเสมอ นั่นทำให้ราคาที่เขายอมจ่ายเพื่อแลกกับ “มูลค่า” ในของสิ่งนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย ฉะนั้นนักลงทุนทุกท่านควรจะตีมูลค่าในของชิ้นนั้นจากสิ่งที่คนส่วนใหญ่มอง ไม่ใช่จากมุมมองของเราเพียงคนเดียวเท่านั้น